วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทำกระบุง


กระบุง

ชื่อท้องถิ่น: ภาคเหนือเรียกว่า บุง หรือ เพียด

ลักษณะของเครื่องมือ: กระบุง เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่นๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหูห้อยตรงปากกระบุง ข้างเอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ หรือหิ้ว ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน กระบุงขนาดใหญ่มีหูร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ ขนาดกลางใช้ในการตวงหรือโกย และกระบุงขนาดเล็กจะใช้สำหรับงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆ ไป 

การใช้ประโยชน์:หลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษา

อธิบายการใช้ประโยชน์: กระบุง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตักตวงหรือโกย ข้าว เมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่นๆ ทั้งนี้การใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบุงด้วย ซึ่งหากเป็นกระบุงขนาดใหญ่จะใช้สำหรับในการหาบข้าว หรือเมล็ดพืชต่างๆ ถ้าเป็นขนาดกลางจะใช้สำหรับในการตวง หรือโกยข้าว แต่ถ้าหากเป็นกระบุงขนาดเล็กจะนิยมมาใส่ของเบ็ดเตล็ด กระบุงสามารถใช้งานได้ประมาณ 2-4 ปี และนิยมทำกันในท้องถิ่น


“การสานกระบุง”

วัตถุดิบ
          1.ไผ่สีสุก สำหรับจักสานเป็นตอก และขอบตะกร้า
          2. หวาย สำหรับถักรัดขอบตะกร้า หวายที่นิยมในงานจักสานโดยเฉพาะ "หวายหอมที่สำหรับทำเส้นหวายให้มีขนาดตามที่ต้องการ
อุปกรณ์ที่สำคัญ
  1. มีดโต้หรือพร้า สำหรับผ่า เหลาและจักไม้ไผ่ให้เป็นตอก ขอบปากและไผ่ขัดก้นตะกร้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น
  2. เลื่อยมือ สำหรับตัดผ่าแบ่งไม้

วิธีทำ
ขั้นตอนแรก นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม.
ขั้นตอนที่ 2แล้วผ่าแบ่งก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน จากนั้นนำตอกมาสานเป็นลายสองธรรมดา
ขั้นตอนที่ แล้วเหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียว ก่อนจะนำไปสอดขัดกับตอกที่สานเป็นพื้นเพื่อให้แข็งแรง งานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นตะกร้า 
ขั้นตอนที่ จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการก่อนจะใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนจนสุดขอบปากตะกร้า ก่อนจะพับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม

รูปภาพประกอบ
 
ด้านล่างกระบุงมีวิธีการทำคล้ายตะกร้า

ปากกระบุงใช้หวายถักรัดให้แข็งแรง

การถักรัดปากกระบุงด้วยหวาย
ชั้นล่างเรียกว่า "ลายหัวแมลงวัน"

 
ขอบบนนี่เห็นคือ "ลายจูงนาง"

 
เมื่อสานพื้นล่างเสร็จแล้วเหลาไม้
ขึ้นมาขัดไว้เพื่อให้แข็งแรง

 
ทำที่จับพร้อมสานหวายทับ
ให้สวยงามและแข็งแรง

           การสานกระบุง ส่วนใหญ่นิยมสานเป็น "ลายขัดไปตามแนวราบยกเส้นหนึ่งกดเส้นหนึ่ง เพื่อให้ตาขัดกันทำต่อเนื่องไปจนได้เป็นแผ่นกว้าง จากนั้นเหลาไม่ไผ่ให้หนาและแข็งกว่าตอก ชิ้น เสี้ยมปลายทั้งสองด้านให้แหลม เพื่อเสียบเข้าไปในผืนตอกที่สานไว้ งานที่ได้ส่วนนี้จะเป็นพื้นกระบุง จากนั้นจึงสานสานต่อไป ระหว่างสานก็ก็จะต้องบังคับให้รูปทรงของพื้นตอกแคบกว้างตามที่กำหนด โดยเฉพาะส่วนที่ขึ้นมาจากพื้นจะบังคับให้ขอบแคบ ส่วนด้านบนจะบังคับให้ปากบานออกไป จากนั้นนำหวายมาเย็บกระบุงเพื่อให้เส้นตอกที่ขัดกันอยู่นั้นหลุดออกมา

การสานขอบภาชนะ
  1. เริ่มจากผ่าเส้นหวายออกเป็น 4-5 เส้นต่อหนึ่งต้นก่อนจะนำมาเลียดด้วยที่เลียดซึ่งทำอย่างง่ายๆ โดยใช้ตะปูเจาะฝากระป๋องนม เป็นรูขนาดต่างๆ
  2. เมื่อเลียดจนได้หวายตามที่ต้องการจึงนำมาสานเป็นขอบกระบุง
  3. การถักสานขอบกระบุง เริ่มจากร้อยเส้นหวายยึดขอบที่ประกบปากกระบุงทั้งด้านนอกและด้านในจากจุด เริ่มต้นวนไปเรื่อยๆ จนชนกัน
  4. แล้วถักหวายรัดช่วงล่างปากขอบอีกครั้ง เรียกช่วงนี้การถักหวาย "ลายหัวแมลงวันถัดขึ้นมาจะร้อยหวายเป็น "ลายจูงนางให้ด้านหน้าหวายคลุมขอบสันปากกระบุงอย่างสวยงาม
                   เครื่องจักรสาน ยังป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวนครไทยและยังมีการทำกันอยู่ในหลายท้องถิ่น ทั้งที่ ทำเป็นอาชีพโดยตรงและทำเป็นอาชีพรองยามว่างจากการทำไร่ทำนา เครื่องจักสานเหล่านี้บางประเภทจะมีลักษณะเฉพาะถิ่น ตั้งแต่วิธีการสาน รูปแบบและประโยชน์ใช้สอย ฃึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอยความเชื่อและขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น และวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมา แต่ในปัจจุบันได้มีเครื่องใช้พลาสติกเข้ามาแทนที่เครื่องจักสานบางชนิดทำให้เครื่องจักรสานค่อยๆหายไปที่ละอย่าง ดังนั้นถ้าไม่มีการฟื้นฟู เครื่องจักสานเหล่านี้อาจหายไปจากสังคมนครไทยก็ได้

1 ความคิดเห็น: